สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่า จากบทเรียนเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี 2554 ที่มาผ่านมา พบว่าช่วงภาวะน้ำท่วมสาเหตุที่มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับ 2 คือ ถูกไฟฟ้าช๊อตจำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมทั้งหมด (1,083 ราย ) พบเหตุเกิดสูงสูดเกิดในบ้านหรือบริเวณบ้าน แนะขณะที่ฝนตกและตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตซ์ อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ถ้าน้ำท่วมปลั๊กไฟห้ามใช้งานเด็ดขาด และให้รีบปลดคัทเอาท์ทันที หากพบสายไฟฟ้าขาดแช่อยู่ในน้ำ เสาล้ม อย่าเข้าใกล้หรือจับต้อง กรณีพบผู้ถูกไฟดูด ผู้เข้าช่วยเหลือต้องยืนในที่แห้ง ใช้ไม้แห้งหรือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้งคล้อง/เชือกดึงผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็ว รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น นำส่งโรงพยาบาลทันที หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669 โดยเร็วที่สุด
รายละเอียดข่าว
เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่า จากบทเรียนเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี 2554 ที่มาผ่านมา พบว่าอันตรายที่สำคัญในช่วงภาวะน้ำท่วมที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับ 2 คือ ถูกไฟฟ้าช๊อต โดยข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าช๊อตจำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมทั้งหมด (1,083 ราย ) พบเหตุเกิดสูงสูดเกิดในบ้านหรือบริเวณบ้าน
หน้าฝน น้ำขัง หรือภาวะน้ำท่วมอาจเกิดน้ำท่วมขังในบ้าน อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านถูกน้ำท่วมถึงเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร เกิดไฟฟ้าดูดหรืออาจเรียกว่าไฟช๊อต ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายผู้ประสบภัยมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายอาจทำให้บาดเจ็บ เสียชีวิต หรือพิการ ได้
ผู้ถูกไฟดูดจะล้มลงกับพื้นและหมดสติชั่วครู่ ถ้าอยู่ที่สูงก็อาจตกลงมากระแทก หากอยู่ในน้ำก็อาจจะจมน้ำได้ คนที่ถูกไฟฟ้าดูดเป็นเวลานานจะทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ศีรษะ และทรวงอก ซึ่งจะทำให้อวัยวะทำงานผิดปกติหรือหยุดทำงาน อีกทั้งยังเป็นแผลไหม้ตามผิวหนังและกินลึกเข้าไปไปในเนื้อเยื่อ อาจเกิดความพิการจากกล้ามเนื้อมีการถูกทำลายอย่างรุนแรง บางครั้งทำให้แขนขาบวมตึงขาดเลือดรุนแรงไปเลี้ยงจนต้องเสียอวัยวะส่วนแขนขาที่ถูกไฟดูดนั้น
ถ้าไฟดูดเป็นเวลานานอาจมีอาการชักเกร็งของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หายใจเร็วและหมดสติ คลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หยุดทำงาน หยุดหายใจ ทำให้อันตรายถึงตายได้ทันที ผู้ตายส่วนใหญ่เกิดจากถูกไฟฟ้าแรงสูงกว่า 1,000 โวลท์ดูด ซึ่งมักจะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ดังนั้นขอให้ประชาชนและครอบครัวที่ประสบอุทกภัยควรระมัดระวังดังนี้
1) สำรวจสายไฟฟ้า สวิตซ์ ปลั๊กไฟ ว่ามีฝนสาดหรือน้ำเข้าหรือไม่ ถ้าเปียกน้ำอย่าแตะต้องเด็ดขาด
2) ในขณะที่ฝนตกและตัวเปียก อย่าสัมผัสกับสวิตซ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร
3) อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งในระดับต่ำ ต้องรีบย้ายให้สูงพ้นระดับน้ำ
3) ถ้าร่างกายเปียกชื้นหรืออยู่บนพื้นเปียกสัมผัสกับน้ำ ต้องงดใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะเกิดน้ำท่วมหากมีความจำเป็นให้ย้ายขึ้นไปใช้บนที่สูงพ้นน้ำ หรือชั้นบน
4) ถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าย้ายไม่ทันถูกน้ำท่วมแล้ว ควรหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการตรวจสภาพเสียก่อน
5) ถ้าน้ำท่วมปลั๊กไฟฟ้าแล้ว ห้ามใช้งานเด็ดขาด และให้รีบตัดการจ่ายไฟ ( ปลดคัทเอาท์ ) ทันที
6) หากพบสายไฟฟ้าขาดแช่อยู่ในน้ำ เสาล้ม อย่าเข้าใกล้หรือจับต้อง ให้รีบแจ้งการไฟฟ้าท้องถิ่นทันทีเพื่อแก้ไข
7) หลีกเหลี่ยงการเข้าใกล้เสาเหล็กที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า
เภสัชกรเชิดเกียรติ กล่าวต่อว่า การถูกไฟดูดอย่างรุนแรง ถ้าได้รับการปฐมพยาบาล การรักษาที่เหมาะสมและทันเวลา สามารถรอดชีวิตแต่อาจพบความพิการได้ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ การช่วยเหลือผู้อื่นขณะเกิดเหตุไฟฟ้าดูดให้กระทำด้วยความระวัดระวัง ดังนี้
1) หากพบผู้ถูกไฟฟ้าดูดอย่าจับต้อง ให้ตัดกระแสไฟฟ้าทันที (สับคัทเอาท์หรือเต้าเสียบ) ก่อนจะเข้าไปช่วยเหลือ หากไม่สามารถสับสะพานไฟลงได้ ห้ามใช้มือไปจับต้องคนที่กำลังถูกไฟดูด
2) ผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือผู้อื่น ร่างกายต้องไม่เปียกน้ำและสวมรองเท้า
3) ต้องไม่สัมผัสผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดโดยตรง ยืนในที่แห้งและใช้ไม้แห้งหรือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้งคล้อง/เชือกดึงผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็ว
4) เมื่อช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูดหลุดออกมาแล้ว ให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้น ถ้าหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจ หากคลำชีพจรไม่ได้ ให้นวดหัวใจ
5) รีบนำตัวผู้ประสบไฟฟ้าดูดส่งโรงพยาบาลทันที หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน โทร 1669
ข้อความหลัก “ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือสะอาด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรคจากฤดูฝนได้ “
เฉพาะกิจเกาะติดการสื่อสารความเสี่ยงเพื่อป้องกันควบคุมโรคจากภาวะน้ำท่วม ปี 2556 เขตภาคเหนือตอนล่าง ที่ http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/special/flood56.html
ฟังเพลงรณรงค์โรคจากฤดูฝนที่https://soundcloud.com/prdpc9/cbo7hzkfwyra
Download ประกาศกรมควบคุมโรค เตือนภัยโรคจากฤดูฝนที่http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/tranfers/guideline/2556/2556_06_06_rain.pdf
ดู Clip VDO คำแนะนำป้องกันโรคที่มาจากน้ำท่วมที่http://www.youtube.com/watch?v=fYcJFCanB5Y&feature=share&list=FLjDz8iLfwnqvbZAKinmemhg
ข่าวที่เกี่ยวข้อง “สคร.9 เตือนน้ำหลาก ประชาชนควรเน้นย้ำสิบบัญญัติสกัดโรคที่มากับน้ำท่วม “ ที่https://www.facebook.com/media/set/?set=a.492325610856343.1073741951.162933320462242&type=1
ข่าวนี้สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมควบคุมโรค : การสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและได้ผล เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
รายละเอียดภาพข่าวนี้
จิดาภา รอดอยู่ / เผยแพร่
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ/ ตรวจทาน
โดย…กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้
โทร 0-5521-4615 -7 ต่อ 333 หรือ 334 โทรสาร 0-5532-1238
Email : dpc9phs@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น