เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยในรายการบอกข่าวเล่าเรื่อง สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที พิษณุโลก ว่าข้อมูลขององค์การอนามัยโลก จัดให้บุหรี่เป็นยาเสพติด เพราะเมื่อเสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ยากที่จะเลิกได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจะทำให้เกิดการเจ็บป่วย บุหรี่จึงถูกจัดเป็นยาเสพติดที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ที่ร้ายแรงที่สุด โรคที่เกิดจาการสูบบุหรี่ ที่สำคัญคือ โรคมะเร็ง ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น มะเร็งที่ปาก ที่ลิ้น ที่กล่องเสียง แต่ที่เป็นมากที่สุดคือ มะเร็งปอด ผู้ที่สูบบุหรี่จัดมีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า
ผู้สูบบุหรี่จัด จะเป็นโรคทางเดินหายใจ มีอาการไอเรื้อรัง บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้ สารพิษในควันบุหรี่จะสะสมอยู่ในปอดวันละเล็กวันละน้อย จนในที่สุดถุงลมปอดโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ จึงทำให้หายใจขัด หอบ และหากเป็นเรื้อรังอาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นโรคอื่นได้อีกหลายอย่าง เช่น โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล โรคความดันเลือดสูง โรคตับแข็ง โรคปริทนต์ โรคโพรงกระดูกอักเสบ เป็นต้น
ผู้หญิงไทยสูบบุหรี่ประมาณ 600,000 คน ภาคเหนือและภาคกลางมีจำนวนการสูบสูง อัตราการสูบต่อประชากรค่อนข้างสูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ ภาคใต้กับภาคอีสาน การสูบบุหรี่ระหว่างที่ตั้งครรภ์จะส่งผลโดยตรงกับผู้หญิงและทารก เพราะในบุหรี่มีสารพิษมากกว่า 3,000 ชนิด ที่ส่งผ่านได้โดยตรงไปยังทารกครรภ์ ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะแท้งและทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน รวมถึงพิการแต่กำเนิดสูงมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานแทรกซ้อน ขณะตั้งครรภ์ได้ง่ายมากขึ้นด้วย รายงานการวิจัยยังพบอีกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ อาจเพิ่มความเสี่ยงด้านโรคภัยสู่หลาน เนื่องจากความผิดพลาดของระบบยีน ซึ่งจะส่งผลความผิดปกติต่อจากลูกในครรภ์ต่อไปยังทายาทรุ่นหลานอีกทอดหนึ่ง
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เมื่อติดแล้วจะเลิกยากกว่าผู้ชาย มีโอกาสและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้มากกว่าหญิงที่ไม่สูบบุหรี่ เช่น โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรคเกี่ยวกับปอด ทางเดินหายใจ และโรคเกี่ยวกับระบบความดันโลหิต รวมถึงโรคหัวใจหลอดเลือด ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดและสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่สูบถึง 30 เท่า
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเป็นวัยแรงงาน และวัยสูงอายุ มีอัตราการสูบสูงจนน่าเป็นห่วง ผู้หญิงสูงอายุนอกจากสูบบุหรี่ทั่วไปแล้ว ยังมีการสูบบุหรี่ทั้งชนิดเคี้ยวและบุหรี่ไร้ควันด้วย ส่วนวัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มการเป็นนักสูบหน้าใหม่สูงขึ้นเรื่อย ๆ มีอัตราการสูบสูงขึ้น ขณะที่อายุผู้สูบกลับน้อยลงเรื่อย ๆ ถือเป็นสัญญาณอันตราย เพราะถ้าไม่ช่วยกันลดนักสูบหน้าใหม่ จะทำให้ควบคุมสถานการณ์ยากขึ้น
เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของอุตสาหกรรมบุหรี่ เพราะผู้สูบบุหรี่ 8 ใน 10 คน เริ่มสูบบุหรี่ก่อนอายุ 20 ปี สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เด็กสูบบุหรี่ คือ มีเพื่อนสูบ มีปัญหาภายในครอบครัว หาซื้อบุหรี่ได้ง่าย มีพ่อ-แม่ พี่น้องที่สูบบุหรี่ ขณะนี้มีเด็กอายุ 15-18 ปี เสพติดบุหรี่เพิ่มวันละ 1,000 คน และเด็กติดบุหรี่รวมจำนวนมากถึง 4 แสนคน ซึ้งในจำนวนนี้ ร้อยละ 70 จะติดไปตลอดชีวิต นอกจากนี้เยาวชนไทยอายุ 15-24 ปี ติดบุหรี่แล้วถึง 1.67 ล้านคน เพราะบุหรี่มีอำนาจเสพติด หากเด็กรุ่นใหม่เป็นทาสของบุหรี่ ก็จะเสี่ยงตกเป็นทาสของบุหรี่ไปตลอดชีวิต แต่หากพ่อแม่ไม่ยอมรับการสูบบุหรี่อย่างจริงจัง จะลดโอกาสที่เด็กจะสูบได้ถึง 7 เท่า
เภสัชกรเชิดเกียรติ กล่าวต่อว่า วันงดสูบบุหรี่โลกเวียนมาอีกรอบหนึ่งแล้ว คือ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 โดยมีประเด็นรณรงค์ว่า " ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต" สำหรับวัยรุ่นที่อยากลอง หรือคิดว่าการสูบบุหรี่แล้วเท่ นำแฟชั่น หรือดูเป็นผู้หญิงยุคใหม่ ทันสมัย ควรปรับความคิดใหม่ เพราะสูบบุหรี่มีผลเสียต่อร่างกายมากมาย จึงควรปรับเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรม ลองทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น การออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เล่นดนตรี รวมถึงการทำงานจิตอาสา
ส่วนผู้ที่ติดบุหรี่แล้วต้องการเลิก ไม่ว่าจะมีอายุมากเท่าไร จะสูบบุหรี่มานานเท่าใด การเลิกสูบบุหรี่ทันทีจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงขนาดเจ็บป่วย จะมีก็แต่อาการหงุดหงิด กระวน กระวายบ้าง ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับกับสุขภาพที่จะดีขึ้นในระยะยาวแล้วแสนจะคุ้มค่า ใครที่ยังไม่ได้ลองเลิกบุหรี่ดูควรเริ่มเสียแต่วันนี้ การลองดูแล้วไม่สำเร็จ ยังดีกว่ายังไม่ได้ลงมือกระทำ เพราะจะพลาดโอกาสที่ดีอีกมากมายที่เราควรจะได้รับ คิดเสียว่าเป็นการมอบของขวัญที่มีค่ากับชีวิตของตนเองและครอบครัว หากเลิกบุหรี่สำเร็จจะรู้สึกถึงชัยชนะและความภาคภูมิใจมากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตทีเดียว ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่สามารถขอรับคำปรึกษาในการเลิกสูบบุหรี่ทางโทรศัพท์ได้ ที่เบอร์โทร.1600
ข้อความหลัก “ ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต จุดบุหรี่หนึ่งมวน เหมือนจุดชนวนสู่ความตาย “
ดูข่าวบุหรี่ที่เกี่ยวข้อง คนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละเกินครึ่งแสน วันละ142คนชั่วโมงละ6คน ที่https://www.facebook.com/media/set/?set=a.463708733718031.1073741898.162933320462242&type=1
ฟังเพลงรณรงค์เลิกสูบบุหรี ที่ https://soundcloud.com/prdpc9/stphkyazbono
สปอร์ตสู้โรคสั้น Clip VDO เชิญชวนเลิกบุหรี่ที่http://www.youtube.com/watch?v=NUD2GfhANWw&feature=share&list=UUjDz8iLfwnqvbZAKinmemhg
สารคดีสู้โรคสั้น Clip VDO บุหรี่กับยาเส้นที่http://www.youtube.com/watch?v=Dq7mjxmaZPY&feature=share&list=PLA7D4264010BCE1B2
ข่าวนี้สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมควบคุมโรค : การสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและได้ผล เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
รายละเอียดภาพข่าวนี้ทั้งหมดที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.464168733672031.1073741899.162933320462242&type=1
จิดาภา รอดอยู่ / รายงาน / เผยแพร่
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ/ ตรวจทาน
โดย…กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้
โทร 0-5521-4615-7 ต่อ 334 โทรสาร 0-5532-1238
Email : dpc9phs@yahoo.com
ดูข่าวสุขภาพใหม่ ๆ ตลอดเวลาได้ที่http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ/ ตรวจทาน
โดย…กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้
โทร 0-5521-4615-7 ต่อ 334 โทรสาร 0-5532-1238
Email : dpc9phs@yahoo.com
ดูข่าวสุขภาพใหม่ ๆ ตลอดเวลาได้ที่http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น