วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

สคร.9 เผยผู้สูงอายุ เสี่ยงวัณโรค ป่วยมากกว่าคนทั่วไป 4 -5 เท่า ควรค้นให้พบ จบด้วยหาย ไม่แพร่กระจาย



 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2557 เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่า วัณโรค เป็นโรคติดต่อ ที่พบมานานประมาณ 132 ปีผ่านมาแล้ว องค์การสหประชาชาติ มีความเป็นห่วงและตระหนักถึงปัญหาวัณโรค ที่มีต่อมนุษยชาติ ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ในปี 2554 พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 8.4 ล้านคน และตายจากวัณโรคปีละ 1.4 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการตายจากโรคติดเชื้อ

สำหรับประเทศไทย องค์การสหประชาชาติ ได้แสดงความชื่นชมยินดีกับแผนงานวัณโรค ของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการบูรณาการการควบคุมวัณโรคและเอดส์ แต่อย่างไรก็ตามปัญหาวัณโรคของประเทศไทยยังคงเป็น 1 ใน 22 ประเทศของโลก ที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง

ข้อมูลสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค ในปี 2554 ที่ผ่านมา ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนรักษา 65,800 ราย มีอัตราความสำเร็จในการรักษาร้อยละ 87 เสียชีวิตร้อยละ 7 และขาดการรักษาร้อยละ 3 นอกจากจำนวนผู้ป่วยวัณโรคที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังพบว่าปัญหาแนวโน้มวัณโรคดื้อยาหลายขนานและวัณโรคดื้อยารุนแรง ที่กำลังได้รับการค้นหาและตรวจพบมากขึ้น ซึ่งประมาณการณ์ว่าประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยประเภทนี้ประมาณ 2,000 ราย ที่กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องรับภาระรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

ธรรมชาติของวัณโรค เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจและติดต่อจากคนสู่คน กลุ่มประชากรที่อยู่ในพื้นที่แออัด มีโอกาสสัมผัสและแพร่กระจายโรคได้สูงกว่าปกติ เช่น ผู้ต้องขังในเรือนจำ (มีอัตราป่วยด้วยวัณโรคสูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 10 เท่า) กลุ่มผู้ขับขี่ยานยนต์สาธารณะ และในประชากรกลุ่มเสี่ยงและด้วยโอกาส เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่มีโอกาสรับและแพร่กระจายเชื้อวัณโรคได้สูง และการเข้าถึงบริการสุขภาพได้ยากกว่าคนทั่วไป ในปี 2555 คาดประมาณว่า มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในประเทศไทย 80,000 ราย (อัตราป่วย 118 ต่อแสนประชากร) พบว่ากลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอัตราป่วย มากกว่าคนทั่วไปประมาณ 4 -5 เท่า

การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง และด้อยโอกาสดังกล่าว จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งการลดการแพร่กระจายเชื้อโรค เนื่องจากหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษา และได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรค การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกโดยการใช้รถเอกซเรย์เคลื่อนที่แบบดิจิตอล และการคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสในกลุ่มเป้าหมาย เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญที่จะช่วยค้นหา และคัดกรองผู้ที่มี่อาการสงสัยวัณโรคให้ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

กรมควบคุมโรค ได้จัดทำโครงการ “ เฉลิมพระเกียรติ 86 พรรษา สืบสานพระเมตตา เพื่อค้นหาและราชพระรักษาวัณโรค ” โดยการค้นหาและตรวจคัดกรองในประชากรกลุ่มเสี่ยง และด้วยโอกาส เพื่อน้อมรำลึกในพระหากรุณาธิคุณ และถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสพระชนม์ยุครบ 86 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สำหรับในปี 2557 ได้กำหนดประเด็นสื่อสารและคำขวัญในการรณรงค์ คือ “ วัณโรค ค้นให้พบ จบด้วยหาย ”

เภสัชกรเชิดเกียรติ กล่าวต่อว่า ภาคส่วนต่างๆ ควรให้ความสำคัญต่อปัญหาวัณโรคให้มากขึ้น โดยการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าได้กับวัณโรค และการรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายขาด มุ่งหวังให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ประเมินต้นเอง และสามารถคัดกรองวัณโรคเบื้องต้นได้ ตลอดจนประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรควัณโรค ลดการรังเกียจตีตรา และผู้ที่ป่วยวัณโรคสามารถกินยาและรักษาต่อเนื่องจนครบและหายขาดจากวัณโรคซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระบาดของวัณโรคที่ดีที่สุด

" วัณโรค ค้นให้พบ จบด้วยหาย ไม่แพร่กระจาย “

VDO Clip รณรงค์วัณโรค ที่ https://www.youtube.com/watch?v=doZWq8YQJdk

ข่าวที่เกี่ยวข้อง " สคร.9 พร้อมแล้วห้องปฏิบัติการตรวจอณูชีววิทยาวัณโรคด้วยเทคนิคล้ำไฮเทค " ที่https://www.facebook.com/media/set/?set=a.539242759497961.1073742027.162933320462242&type=1



 
ข่าวนี้สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมควบคุมโรค : การสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและได้ผล เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

รายละเอียดภาพข่าวนี้ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.604864106269159.1073742115.162933320462242&type=1


           


รหัสข่าว 095140357.3
จิดาภา รอดอยู่ / รายงาน / เผยแพร่
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ/ ตรวจทาน
โดย…กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้
โทร 0-5521-4615 -7 ต่อ 333 หรือ 334
โทรสาร 0-5532-1238 Email : dpc9phs@yahoo.com
ดูข่าวสุขภาพใหม่ ๆ ที่ http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น