วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555
ย้ำเตือน 2 กลุ่มเสี่ยงโรคอาหารเป็นพิษ เที่ยว ฉลองอย่างปลอดภัยต้องใส่ใจอาหารสุก ร้อน สะอาด
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่า จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยา พบว่าในปี 2554 มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษทั่วประเทศมากถึงจำนวน 100,534 ราย เฉพาะช่วงตั้งแต่วันที่ 1 - 19 มี.ค.55 ที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง 24,340 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบการป่วยมากลำดับแรก คือ 15 – 24 ปี อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและนักเรียน
สำหรับในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2555 เป็นช่วงที่อากาศในประเทศไทยมีอุณหภูมิที่ร้อนมาก นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ หรือกลับภูมิลำเนาของตนเอง และมีงานเลี้ยงฉลอง มีการรับประทานอาหารรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่พบบ่อยๆ ตามมา คือ การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรค อาหารไม่สะอาด อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่เตรียมไว้ล่วงหน้าจำนวนมาก
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอก่อนรับประทาน ก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้
ดังนั้นขอกระตุ้นเตือนให้ผู้ประกอบอาหาร ผู้เดินทางท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ตามสถานที่ๆ เป็นแหล่งรวมของผู้คนเดินทางกลับบ้าน หรือเดินทางท่องเที่ยว เช่น สถานีขนส่ง ปั๊มน้ำมัน ร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ตระหนักในการเตรียมอาหาร และเลือกรับประทานให้ปลอดภัย โดยมีคำแนะนำที่สำคัญสำหรับกลุ่มเสี่ยงดังนี้
1) ผู้ประกอบอาหาร ที่จำหน่ายตามสถานที่ท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน สถานีขนส่ง หรือผู้ประกอบอาหารในงานเทศกาล งานฉลอง งานบุญ ฯลฯ ควรรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี แต่งกายและล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังประกอบอาหารทุกครั้ง ไม่ปรุงอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานานก่อนนำไปบริการให้ผู้บริโภค อาหารประเภทยำ ลาบ ต้องปรุงให้สุกและไม่ควรประกอบอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อาหารบูด เสียได้ง่าย
2) ผู้เดินทางท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป เมื่อแวะรับประทานอาหารระหว่างการเดินทาง ให้เลือกร้านที่แน่ใจว่าสะอาด หรือหรือมีเครื่องหมายรับรองความปลอดภัย เลือกรับประทานน้ำดื่มหรือน้ำแข็งที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
เภสัชกรเชิดเกียรติ กล่าวย้ำเตือนว่า ขอให้ประชาชนทุกคนระมัดระวังตนเอง ลูกหลาน และครอบครัว ช่วงหน้าร้อนนี้ ในผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวเป็นเนื้อปนน้ำไม่จำเป็นรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อทันที แต่หากมีอาการถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือมีถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส จะช่วยป้องกันและรักษาภาวะขาดน้ำ แต่หากถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด ต้องรีบไปตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้เคียงทันที และขอให้ “ เที่ยว ฉลองอย่างปลอดภัย ใส่ใจอาหาร สุก ร้อน สะอาด ท่านจะปลอดภัยจากโรคอุจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ ”
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค เผยว่า จากข้อมูลระบบเฝ้าระวังโรค ของสำนักระบาดวิทยา พบว่าในปี 2554 มีผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษทั่วประเทศมากถึงจำนวน 100,534 ราย เฉพาะช่วงตั้งแต่วันที่ 1 - 19 มี.ค.55 ที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษแล้วถึง 24,340 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบการป่วยมากลำดับแรก คือ 15 – 24 ปี อาชีพส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและนักเรียน
สำหรับในช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม 2555 เป็นช่วงที่อากาศในประเทศไทยมีอุณหภูมิที่ร้อนมาก นอกจากนี้ยังเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ หรือกลับภูมิลำเนาของตนเอง และมีงานเลี้ยงฉลอง มีการรับประทานอาหารรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่พบบ่อยๆ ตามมา คือ การเจ็บป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรค อาหารไม่สะอาด อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่เตรียมไว้ล่วงหน้าจำนวนมาก
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการรับประทานอาหาร ที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ จากเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และไข่เป็ด ไข่ไก่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ นอกจากนี้ อาจพบในอาหารที่ทำไว้ล่วงหน้านาน ๆ แล้วไม่ได้แช่เย็นไว้ ถ้าไม่ได้อุ่นให้ร้อนพอก่อนรับประทาน ก็จะทำให้เป็นโรคนี้ได้
ดังนั้นขอกระตุ้นเตือนให้ผู้ประกอบอาหาร ผู้เดินทางท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป ตามสถานที่ๆ เป็นแหล่งรวมของผู้คนเดินทางกลับบ้าน หรือเดินทางท่องเที่ยว เช่น สถานีขนส่ง ปั๊มน้ำมัน ร้านอาหารในแหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ ได้ตระหนักในการเตรียมอาหาร และเลือกรับประทานให้ปลอดภัย โดยมีคำแนะนำที่สำคัญสำหรับกลุ่มเสี่ยงดังนี้
1) ผู้ประกอบอาหาร ที่จำหน่ายตามสถานที่ท่องเที่ยว ปั๊มน้ำมัน สถานีขนส่ง หรือผู้ประกอบอาหารในงานเทศกาล งานฉลอง งานบุญ ฯลฯ ควรรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี แต่งกายและล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังประกอบอาหารทุกครั้ง ไม่ปรุงอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานานก่อนนำไปบริการให้ผู้บริโภค อาหารประเภทยำ ลาบ ต้องปรุงให้สุกและไม่ควรประกอบอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสม เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้อาหารบูด เสียได้ง่าย
2) ผู้เดินทางท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไป เมื่อแวะรับประทานอาหารระหว่างการเดินทาง ให้เลือกร้านที่แน่ใจว่าสะอาด หรือหรือมีเครื่องหมายรับรองความปลอดภัย เลือกรับประทานน้ำดื่มหรือน้ำแข็งที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
เภสัชกรเชิดเกียรติ กล่าวย้ำเตือนว่า ขอให้ประชาชนทุกคนระมัดระวังตนเอง ลูกหลาน และครอบครัว ช่วงหน้าร้อนนี้ ในผู้ที่มีอาการถ่ายเหลวเป็นเนื้อปนน้ำไม่จำเป็นรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อทันที แต่หากมีอาการถ่ายเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือมีถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ โอ อาร์ เอส จะช่วยป้องกันและรักษาภาวะขาดน้ำ แต่หากถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด ต้องรีบไปตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้เคียงทันที และขอให้ “ เที่ยว ฉลองอย่างปลอดภัย ใส่ใจอาหาร สุก ร้อน สะอาด ท่านจะปลอดภัยจากโรคอุจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ ”
ข้อความหลัก " เที่ยว ฉลองอย่างปลอดภัย ใส่ใจอาหาร สุก ร้อน สะอาด ป้องกันโรคอุจาระร่วงและอาหารเป็นพิษ”
กรมควบคุมโรค ห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี
ที่มา http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/2555/04_05_food.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น