ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อพาหะนำโรคโดยยุงลาย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขในระดับประเทศปัญหาหนึ่ง จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา ทั่วประเทศไทย ช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 18 เมษายน 2556 มีผู้ป่วยแล้ว 22,495 ราย เสียชีวิต 25 ราย ภาคที่มีสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยมากไปหาน้อย คือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่ม อายุ 10-14 ปี อาชีพนักเรียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาศัยอยู่เขตองค์การบริการส่วนตำบลร้อยละ 70.51 และคาดการณ์ได้ว่าความรุนแรงการระบาดในภาพรวมประเทศจะเพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน และเพิ่มอย่างรวดเร็วในเดือน พฤษภาคม โดยจะเพิ่มถึงจุดสูงสุดในช่วงเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม 2556
ด้าน เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ หัวหน้ากลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค รวมทั้งรณรงค์ให้ชุมชนและประชาชนทุกครัวเรือนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ดังนั้นหน่วยงานและกลุ่มองค์กรทุกพื้นที่ควรใช้โอกาสในช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ที่ยังพบจำนวนผู้ป่วยไม่มากนัก จัดรณรงค์ สร้างความตระหนักและสร้างความร่วมมือของประชาชนในทุกชุมชน ทุกภาคของสังคม ให้ช่วยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเพื่อตัดวงจรการแพร่โรค ก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าช่วงอื่น ๆ
ดังนั้น กรมควบคุมโรค จึงจัดมหกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ครั้งนี้ขึ้นเพื่อสร้างกระแสการป้องกันโรคในพื้นที่เขตภาคเหนือ 18 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือเพื่อสร้างกระแสส่งเสริมให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกชุมชนป้องกันการแพร่ระบาดโรคในพื้นที่ภาคเหนือ และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรม และภูมิปัญญาไทยในการป้องกันโรคไข้เลือดออกจากชุมชนที่ปฏิบัติได้ดี รูปแบบการจัดงานมีทั้งภาควิชาการ และบู๊ทนิทรรศการรณรงค์ที่เป็นภูมิปัญญาไทย ที่ได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดงานในครั้งนี้คือ ประชาชนในทุกพื้นที่จะมีความตระหนักรู้ถึงภัยร้ายของโรคไข้เลือดออกและให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกของเด็กนักเรียนในช่วงเปิดภาคเรียน ขยายผลการใช้งานนวัตกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้การป้องกันโรคไข้เลือดออกไปสู่ชุมชนอื่น
ข้อความหลัก “ 5 ป. 1 ข. มาตรการ เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ ป้องกันไข้เลือดออก“
ดูนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น 13 นวัตกรรมที่น่าสนใจ ได้ที่http://www.prddcmoph.com/th/news/mass-media-detail.php?id=17779
และดู Clip VDO ข่าวคำแนะนำ 5 ป.1ข.ที่ http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/2556/04_23_dhf.html
ข่าวนี้สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 กรมควบคุมโรค : การสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและได้ผล เพื่อป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
รายละเอียดภาพข่าวนี้ทั้งหมดที่ http://www.facebook.com/media/set/?set=a.449005008521737.1073741873.162933320462242&type=1
สิริกุล สิทธิพร ถิ่นจันทร์ / รายงาน
จิดาภา รอดอยู่ / รายงาน / เผยแพร่
เชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ/ ตรวจทาน
โดย…กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก
กรมควบคุมโรค รู้ก่อน รู้ทัน ป้องกันได้
โทร 0-5521-4615 -7 ต่อ 333 หรือ 334 โทรสาร 0-5532-1238
Email : dpc9phs@yahoo.com
ดูข่าวสุขภาพใหม่ ๆ ตลอดเวลาได้ที่ http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น