เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2555 นายบุญวาทย์ สมศักดิ์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์จังหวัดอุตรดิตถ์ กรมประชาสัมพันธ์ กล่าวในการเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมพัฒนาอาสาสมัครสื่อมวลชนชุมชนในการเฝ้าระวังแจ้งข่าวสารโรคและภัยสุขภาพ ( อสสช.) รุ่นที่ 1 จัดอบรมโดย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค ระหว่างวันที่ 24-25 เมษายน 2555ณ โรงแรงสีหราช อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ว่าภาวะปัจจุบันการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนถือเป็นนโยบายสำคัญของชาติ เพราะชาติจะพัฒนาได้นั้นขึ้นอยู่กับประชาชน ดังนั้นในเรื่องของสุขภาพจึงไม่ใช่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนทุกหน่วยงานของสังคมต้องเข้ามีส่วนร่วมในด้านสุขภาพ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม การสร้างพฤติกรรมสุขภาพต้องอาศัยความรู้ที่ถูกต้อง และรวดเร็ว จึงจะทำให้ประชาชนมี ความเข้าใจ ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้มีสุขภาพมีสุขภาพที่ดี อาสาสมัครสื่อมวลชนในชุมชนจึงมีส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ ให้ประชาชนในชุมชนได้รับทราบ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน และอื่น ๆด้าน นางภัททิมา แซวหิว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กล่าวต่อว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ที่ได้รับการคัดเลือกนำร่อง จำนวน 10 พื้นที่ รวมทั้งสิ้นประมาณ 45 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและระดมแนวร่วมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารสุขภาพ เฝ้าระวังและแจ้งข่าวสารโรคและภัยสุขภาพจากภาคประชาสังคมได้อย่างทันท่วงที โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม เสริมระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะปกติและภัยพิบัติทางธรรมชาติให้แข็งแข็ง รวมทั้งความรู้ด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน
นางภัททิมา กล่าวต่อว่า บทบาทของอาสาสมัครสื่อมวลชนชุมชน ( อสสช.) ที่สำคัญคือเป็นผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในชุมชน แจ้งข่าวสารสาธารณสุข เช่น การเกิดโรคติดต่อที่สำคัญ หรือโรคระบาดในท้องถิ่น ตลอดจนข่าวความเคลื่อนไหวในกิจกรรมสาธารณสุข รับข่าวสารสาธารณสุขแล้วแจ้งให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบอย่างรีบด่วนในเรื่องสำคัญ เช่น เรื่องโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่าง ๆ เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในชุมชน เช่น เรื่องโรคติดต่อประจำถิ่น ไข้เลือดออก อาหารเป็นพิษ ที่ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนเจ็บป่วยในปริมาณมาก เป็นแกนนำในการชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมอาสาสมัครสาธารณสุขของชุมชน กระตุ้น ประสานงาน กับกลุ่มผู้นำชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้มีการจัดทำศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน
ดังนั้นการสร้างอาสาสมัครสื่อมวลชนชุมชนครั้งนี้จะเกิดความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ อันจะส่งผลประโยชน์ต่อการดำเนินที่เป็นเลิศและขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่นต่อไป
ข้อความหลัก " อาสาสมัครสื่อมวลชนร่วมใจ เฝ้าระวังภัยในชุมชน ”
กรมควบคุมโรค ห่วงใย อยากเห็นคนไทยมีสุขภาพดี
ที่มา http://dpc9.ddc.moph.go.th/crd/news/2555/04_25_Volun.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น